วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2551

แบบฝึกหัดบทที่ 4

แบบฝึกหัดบทที่ 4 (1) มนุษย์สัมพันธ์มีความหมายว่าอย่างไร มีความสัมพันธ์ต่อองค์การอย่างไร จงอธิบายความสัมพันธ์เป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างกลุ่มบุคคลในองค์การใดองค์การหนึ่งหรือสังคมใดสังคมหนึ่ง เพื่อดำเนินการให้องค์การนั้นหรือสังคมนั้นบรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งจะมี 2 ลักษณะด้วยกันคือ มนุษย์สัมพันธ์อันดี บุคคลในองค์การหรือสังคมมีความรู้สึกพึงพอใจต่อกันและกันมีความเข้าใจอันดีต่อกัน ร่วมมือกันประสานงาน ช่วยเหลือแบ่งปันและให้อภัยต่อกัน แต่ถ้ามนุษย์สัมพันธ์ไม่ดี บุคคลในองค์การนั้นหรือสังคมนั้นก็มักจะไม่ชอบพอกัน ขัดแย้งกัน ไม่ร่วมมือกัน ต่างคนต่างอยู่หรือกลั่นแกล้งกัน ส่งผลให้งานส่วนรวมขององค์การหรือกลุ่มสังคมนั้น ๆ เสียหาย บุคคลในกลุ่มขาดความสุข ซึ่งในท้ายที่สุดก็จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของบุคคลทุกคนในกลุ่มนั้น ๆ ไม่มากก็น้อย(2) กลุ่มงานที่มีความสัมพันธ์อันดี มีลักษณะที่ดีอะไรบ้าง จงอธิบาย"ลักษณะของกลุ่มงาน" ที่กล่างถึงในที่นี้มุ่งเน้นที่พฤติกรรมการกระทำ การปฏิบัติต่อกันและกันของผู้ทำงานร่วมกลุ่ม ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญดังต่อไปนี้2.1 มีการทำงานร่วมกันแบบประชาธิปไตยบุคคลส่วนใหญ่ต้องการมีส่วนร่วมในกลุ่มที่ตนเป็นสมาชิกซึ่งการทำงานร่วมกันแบบประชาธิปไตยจะสนองความต้องการนี้ได้ โดยที่ทุกคนต่างมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นต่องาน รับฟังความคิดเห็นของกันและกัน และเคารพในมติของเสียงส่วนใหญ่ นักจิตวิทยากลุ่มทฤษฎีสนาม พบว่าการทำงานร่วมกันแบบประชาธิปไตย ช่วยให้กลุ่มมีความร่วมมือและงานสำเร็จดีกว่ากลุ่มเผด็จการ จึงกล่าวได้ว่าการทำงานร่วมกันแบบประชาธิปไตยช่วยเสริมสร้างมนุษย์สัมพันธ์ในหน่วยงานได้2.2 มีความไว้วางใจและเชื่อในความสามารถซึ่งกันและกันบุคคลทั่วไปต้องการความเชื่อถือไว้วางใจจากผู้อื่น ดังนั้นในการทำงานร่วมกันทุกคนควรให้ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ให้เกียรติและเชื่อถือในความสามารถของเพื่อนร่วมงาน2.3 มีการติดต่อสื่อสารที่ดีในหน่วยงานมนุษย์ทุกคนต้องการความชัดเจนในงานและต้องการความสบายใจในการอยู่ร่วมกันด้วย ซึ่งการติดต่อสื่อสารที่ดีนอกจากช่วยสร้างความเข้าใจในการร่วมงานกันแล้วยังช่วยเสริมความสัมพันธ์ส่วนตัวกันด้วย2.4 มีการช่วยเหลือกันในขอบเขตที่เหมาะสมในการทำงานและอยู่ร่วมกันในกลุ่ม ถ้าทุกคนพร้อมต่อการเป็นผู้ให้ย่อมทำให้เกิดความสุขในกลุ่มได้ การช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน จัดว่าเป็นการให้อีกรูปแบบหนึ่งซึ่งก่อให้เกิดความรู้สึกเป็นมิตร ซาบซึ้งใจ พึงพอใจและเกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน แต่ทั้งนี้ต้องเป็นการให้ในขอบเขตที่เหมาะสม2.5 มีการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบการทำงานร่วมกันโดยหลายคนนั้น ถ้ามีทีมงานที่เหมาะสม คือ มีระบบงานที่ดี มีสายงานบังคับบัญชาที่ชัดเจน ทุกคนรู้จักบทบาทหน้าที่ และมีขอบข่ายงานที่กำหนดเด่นชัด การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีขั้นตอน และมีการร่วมมือประสานงานกันเป็นอย่างดี มักส่งผลให้งานสำเร็จและมีความสัมพันธ์อันดีต่อกันด้วย2.6 มีการร่วมมือที่ดีการทำงานร่วมกันนั้น ถ้าทำให้ทุกคนร่วมมือกันทำเพื่อให้กลุ่มทำงานสำเร็จได้ ก็จัดว่ากลุ่มดังกล่าวมีความสามัคคีและมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน วิธีนี้จะเป็นที่ยอมรับของนักจิตวิทยามากกว่าการแข่งขัน เนื่องจากในกระบวนการของการแข่งขันนั้น เมื่อฝ่ายหนึ่งได้อีกฝ่ายหนึ่งจะเสีย แม้บางครั้งการแข่งขันอาจทำให้ผลงานของกลุ่มดีขึ้นแต่ในแง่ของความสัมพันธ์ภาพมักเสียไป2.7 ผู้มาร่วมกลุ่มทำงานมีลักษณะที่เอื้อต่อการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีในการทำงานร่วมกัน ถ้าผู้มาร่วมกลุ่มทำงานมีลักษณะบางประการ ที่เอื้อต่อการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี คือมีลักษณะส่วนตัวที่พร้อมอยู่แล้วก็ย่อมส่งผลให้การทำงานกลุ่มเป็นไปด้วยไมตรีอันดี(3) แนวทางในการพัฒนาตนเพื่อเสริมสร้างสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนร่วมงาน ควรปฏิบัติอย่างไรบ้าง จงอธิบายการพัฒนาตนเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนร่วมงาน อาจทำได้หลายลักษณะดังนี้3.1 การสร้างอัตตมโนทัศน์ ที่ตรงตามความเป็นจริงเป็นความคิดความรู้สึกที่เป็นข้อสรุปต่อตนเองของบุคคล ความคิดความรู้สึกดังกล่าวเป็นผลิตผลจากประสบการณ์ในชีวิตที่ได้มีการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง อัตตมโนทัศน์เป็นภาพทั้งหมดของบุคคลในความคิดคำนึง ซึ่งมิได้เจาะจงที่จุดใดจุดหนึ่งโดยเฉพาะหากแต่เป็นความคิดความรู้สึกเกี่ยวกับตนเองในภาพรวมทั้งหมด3.2 การมองตนเองและผู้อื่นในทางที่ดีนักจิตวิทยาส่วนใหญ่มีความเห็นว่า เรื่องของมนุษย์สัมพันธ์นั้น ควรเริ่มที่ตัวเองเป็นจุดแรก ทั้งนี้เพราะข้อเท็จจริงที่ว่าการที่บุคคลรู้สึกต่อผู้อื่นเช่นไรส่วนใหญ่มักขึ้นอยู่กับความรู้สึกของตนเอง ถ้ามีความรู้สึกที่ดีเกี่ยวกับตนเองและมองตนเองในทางที่ดีก็มีแนวโน้มที่จะรู้สึกต่อผู้อื่นในทางที่ดีและมองผู้อื่นดีด้วยแนวปฏิบัติที่สำคัญเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อผู้อื่น เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงานด้วยกันมีดังนี้1) ให้ความสนใจเพื่อนร่วมงาน2) ยิ้มแย้ม3) แสดงการจำได้4) เป็นคู่สนทนาที่ดี5) รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น6) แสดงการยอมรับนับถือผู้อื่นตามสถานภาพ7) แสดงความมีน้ำใจต่อผู้อื่น8) แสดงความชื่นชมยินดี(4) การวางแผนตนตามสถานะและบทบาทในองค์การ แบ่งออกเป็นกี่ระดับอะไรบ้าง จงอธิบายการวางแผนตามสถานะและบทบาทในองค์การ แบ่งออกเป็น 3 ระดับดังนี้4.1 การวางตนในการทำงานร่วมกับผู้บังคับบัญชาโดยผู้บังคับบัญชา ไม่ว่าจะอยู่ในระดับใดต้องถือว่าเป็นผู้นำในการปฏิบัติงานและเป็นผู้ต้องรับผิดชอบงาน ดังนั้น ผู้ใต้บังคับบัญชาจึงต้องให้ความสำคัญกับผู้บังคับบัญชา ให้ความเคารพนับถือ ให้ความร่วมมือ และเชื่อฟังในสิ่งที่ชอบด้วยเหตุผลและบทบาทหน้าที่โดยปฏิบัติดังนี้1)ยกย่องผู้บังคับบัญชาตามควรแก่ฐานะ2)รับคำวิพากษ์วิจารณ์จากผู้บังคับบัญชา ด้วยความสงบหลีกเลี่ยงการแสดงอารมณ์หรือการโต้เถียง3)ปฏิบัติงานด้วยความตั้งใจและเต็มความสามารถเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาเชื่อถือ4)ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และคำสั่งขององค์กร5)เสนอข้อคิดเห็นโดยสุภาพอ่อนน้อม เมื่อผู้บังคับบัญชาถามความเห็น6)หลีกเลี่ยงการรบกวนผู้บังคับบัญชาด้วยเรื่องเล็กน้อย7)หลีกเลี่ยงการบ่นเรื่องงานที่ยากลำบากให้ผู้บังคับบัญชาฟัง8)หลีกเลี่ยงการนินทาผู้บังคับบัญชาลังหลัง ถ้ามีปัญหาเรื่องงานเกิดขึ้น ควรหาโอกาสพูดกับผู้บังคับบัญชาโดยตรง9)หลีกเลี่ยงการตอบรับหรือปฏิเสธตลอดเวลา การที่จะตอบรับหรือปฏิเสธความเห็นของผู้บังคับบัญชา ควรให้เป็นไปตามเหตุผล10)หลีกเลี่ยงการทำตัวแข่งกับผู้บังคับบัญชา4.2 การวางตนในการทำงานร่วมกับผู้อยู่ในระดับเดียวกันผู้ที่ปฏิบัติงานในระดับเดียวกันมักมีอิทธิพลต่อกันและกันในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและมีบทบาทสูงต่อมนุษยสัมพันธ์ในองค์การ เนื่องจากอยู่ใกล้ชิดกันมากที่สุดต้องอาศัยความร่วมมือและน้ำใจช่วยเหลือกัน ดังนั้น การวางตนในการทำงานร่วมกับผู้อยู่ในระดับเดียวกันนั้น จึงต้องวางตนโดยเป็นผู้ให้มากที่สุดและปฏิบัติดีต่อกันให้มากที่สุด ซึ่งได้กล่าวโดยสังเขปดังนี้1)มองเพื่อนร่วมงานในแง่ดี ให้ความจริงใจให้ความช่วยเหลือ2)หลีกเลี่ยงการผลักภาระรับผิดชอบของตนไปให้เพื่อนร่วมงาน3)เมื่อมีปัญหาต้องพูดคุยกัน4)หาโอกาสพบปะสังสรรค์กับเพื่อนร่วมงานตามสมควร5)ให้การยกย่องชมเชยตามโอกาสอันควร6)หลีกเลี่ยงการแสดงอารมณ์เมื่อมีการขัดแย้งเกิดขึ้น7)หลีกเลี่ยงการทำตนเหนือเพื่อนร่วมงานหรือใช้วาจาข่มขู่8)หลีกเลี่ยงการขอร้องให้ช่วยเหลือในบางเรื่องที่เล็กน้อยและเราทำเองได้9)หลีกเลี่ยงการนินทาว่าร้ายหรือวิพากษ์วิจารณ์เพื่อนร่วมงานลับหลัง10)ให้อภัย ให้โอกาส เมื่อเพื่อนร่วมงานปฏิบัติผิดพลาด4.3 การวางตนในการทำงานร่วมกับผู้ใต้บังคับบัญชาการวางตนในการทำงานร่วมกับผู้ใต้บังคับบัญชาต้องคำนึงอยู่เสมอว่า ผู้ใต้บังคับบัญชาคือฝ่ายปฏิบัติงานในหน่วยงาน เปรียบเสมือนมือและเท้าของผู้บริหาร ถ้าผู้ปฏิบัติขาดความสุขในการทำงานก็มักส่งผลเสียต่องาน นอกจานนั้น ผลงานของลูกน้องทุกคนทั้งหมดเมื่อรวมกันแล้วก็คือผลงานของผู้บังคับบัญชา ผู้บังคับบัญชาจึงควรต้องให้ความสำคัญกับผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อให้ผลงานดีและมีบรรยากาศของความสัมพันธ์อันดีต่อกันด้วย ดังนั้นในที่นี้จึงกล่าวโดยสังเขปดังนี้1)เปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเจริญก้าวหน้าโดยอาชีพ โดยอาจส่งไปอบรม สัมมนา ค้นคว้าวิจัย2)สนับสนุนให้ผู้ใต้บังคับบัญชาแต่ละคนได้ทำงานที่เหมาะสมแก่ตนเองทั้งด้านความสามารถและบุคคิกภาพ3)สื่อสารกับผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างชัดเจน เมื่อต้องการให้ทำงานใดและหลีกเลี่ยวการสื่อสารทางเดียวให้มากที่สุด4)รักษาผลประโยชน์ของผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อให้ทุกคนอยู่ได้อย่างไม่ลำบากและเป็นสุข5)ยกย่องผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปรากฏแก่ผู้อื่นเมื่อเขาทำดี แต่เมื่อมีสิ่งผิดพลาดเกิดขึ้นควรเชิญเข้าพบเพื่อพูดคุยกันเป็นการส่วนตัวในบรรยากาศของความจริงใจ6)เปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในงานให้มาก โดยการประชุมปรึกษาเสนอความคิดเห็นและกระจายงานให้ผู้บังคับบัญชาแบ่งกันรับผิดชอบ7)ให้ความยุติธรรมแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาและปฏิบัติต่อผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยความเป็นธรรม8)หลีกเลี่ยงการยกตนเองว่าสูงกว่าผู้ใต้บังคับบัญชา9)หลีกเลี่ยงการจับผิดผู้ใต้บังคับบัญชา10)หลีกเลี่ยงการแสดงความอยากได้หรือการเบียดเบียนผู้ใต้บังคับบัญชา

ไม่มีความคิดเห็น: