วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2551

การพัฒนาตนเอง

การพัฒนาตนเองในด้านต่างๆ เพิ่มพลังสมองเป็น 10 เท่า จากผลการทดลองพบว่า 90% ของกำลังสมอง หมดไปกับการคิดเรื่องที่ไม่ก่อประโยชน์ และมักจะใส่ความคิดผิด ๆ ให้สมองของตัวเอง ดั่งเช่นการทำงานของคอมพิวเตอร์ถ้าเราใส่ software ที่ผิด ผลการคำนวณก็ออกมาผิด ถ้าจะเปรียบเทียบประสิทธิภาพการทำงานระหว่างสมองกับคอมพิวเตอร์ ในทางทฤษฎี พบว่า " สมองมนุษย์เก็บข้อมูลได้เยอะกว่าและสามารถประมวลข้อมูลที่มีความสลับซับซ้อนได้รวดเร็วดีกว่าคอมพิวเตอร์ " ถ้าสมมติฐานดังกล่าวเป็นจริง เราก็น่าจะเรียนรู้อะไรได้เร็ว มีความจำเป็นเลิศ แต่ในชีวิตจริงทำไมกลับตรงกันข้าม หรือเป็นเพราะว่า เราไม่รู้ว่า อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เราเรียนรู้ช้า และปัจจัยอะไรที่ทำให้เราเรียนรู้ได้เร็ว ? เมื่อคุณพบคำตอบ คุณอาจคันพบตัวเองก็ได้ทำไมเราจึงเรียนรู้ช้า? เพราะขาดความสามารถในการจดจ่อความคิดต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นเวลานานได้ และไม่สามารถควบคุมความคิดให้คิดในทางที่สร้างสรรค์ได้ เนื่องจาก คนส่วนใหญ่จะปล่อยให้สถานการณ์ภายนอกชักจูงความคิดให้โดดไปมา คิดเรื่องในอดีตหรือเรื่องที่ก่อความทุกข์ให้กับตนเอง และมักปล่อยให้ความคิดในทางทำลายตัวเองเข้ามาบั่นทอนประสิทธิภาพในการเรียนรู้ ทำให้เรียนรู้ช้า, คิดไม่ชัดเจนคิดไม่ทัน ดังนั้น ตราบใดที่เรายังไม่สามารถตั้งใจคิดได้ คุณก็จะไม่พบคำตอบ ทำอย่างไรจึงจะเรียนรู้ได้เร็ว? 1. เปลี่ยนความคิดจาก Negative >>> Positive - ทำงานอย่างมีเป้าหมาย : ถ้าอยากฉลาดแบบนักคิดระดับโลก ก็ต้องคิดเหมือนพวกเขา คือ ทำสิ่งต่าง ๆ อย่างมีเป้าหมาย เช่น ก่อนจะอ่านหนังสือก็ต้องรู้ก่อนว่าเรากำลังจะอ่านอะไร อ่านไปเพื่ออะไร เป็นต้น - ต้องรู้ระบบความคิดของเราก่อนว่าความคิดไหนทำให้เราคิดในทางลบ เช่น เมื่อเราเห็นคนอื่นทำไม่ได้เราจึงคิดว่าเราทำไม่ได้ , เชื่อว่าตัวเองทำไม่ได้ เพราะความจำไม่ดี เป็นต้น - ตัดความคิดในทางNegativeทิ้งแล้วใส่ความคิด Positive ลงไปแทนที่ เช่น คนอื่นทำไม่ได้ช่างเขา เราทำได้ก็แล้วกัน ,ท่านทำได้ ถ้าท่านคิดว่าท่านทำได้ เป็นต้น2. หัดผ่อนคลายทั้งกายและใจ จากการทดลองพบว่า คนเราจะเรียนรู้ได้เร็วเมื่ออยู่ในสภาวะที่ผ่อนคลายทั้งกายและใจ ดังนั้น เราควรรู้จักผ่อนคลายจิตใจบ้าง เช่น ฝึกโยคะ ฝึกสมาธิ หรือ การสวดมนต์ อาจกล่าวได้ว่า การผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ ช่วยยับยั้งความคิด Negative ได้ชั่วคราว3. พยายามสังเกตว่าตัวเองเรียนรู้ได้ดีจากสื่อใด ถึงแม้สมองจะมีคุณสมบัติเหมือนกัน แต่รูปแบบหรือวิธีการเรียนรู้ของแต่ละคนไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน บางคนเรียนรู้ได้เร็วจากพูดคุยกับผู้อื่น, การอ่าน, ต้องคิดหา logic ด้วยตัวเอง, ต้องเห็นด้วยตา--ฟังไม่เข้าใจต้องเขียนหรือดูภาพ หรือบางคนต้องฟังอย่างเดียว ดังนั้น ถ้าเราต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ให้ดีขึ้นจำเป็นต้องสำรวจตัวเองว่า• รูปแบบการเรียนรู้แบบใดทำให้เราเรียนรู้ได้เร็ว?• ในช่วงเวลาใดของวันที่เรามีสมาธิสูงสุด--กระตือรือร้นสูงสุด?4. พยายามสร้างจุดเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลกับสมอง จะช่วยให้เราสามารถเก็บข้อมูลและดึงข้อมูลมาใช้ได้อย่างประสิทธิภาพ อาจใช้การตั้งคำถาม, การเปรียบเทียบข้อมูล เพราะ สูงสุดของการเรียนรู้ คือ การนำความรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์5. หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ นอกจากจะทำให้เรามีความสดชื่น กระตือรือร้น แล้วเมื่อเราออกกำลังกายนานติดต่อกัน 12 - 20 นาที จะส่งผลให้สมอง function ดียิ่งขึ้น ทำให้สมองทั้ง 3 ส่วน คือ ส่วนซ้าย ส่วนขวา และสมองส่วนกลาง ทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้อย่างสะดวก ทำให้เราใช้สมองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะสามารถใช้สมองทั้ง 3 ส่วนได้พร้อม ๆ กันในเวลาเดียว6. ควรเข้าใจการทำงานของสมอง การทำงานของสมองในส่วนความจำจะทำงานได้ดีในเวลาที่ต่างกัน ดังนี้• ความจำระยะสั้น >>> ช่วงเช้า• ความจำระยะระยะยาว >>> ช่วงบ่าย• จำเกี่ยวกับตัวเลข >>> ก่อนนอนทำอย่างไรจึงจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ในแต่ละแบบได้?ตามที่ได้กล่าวแล้วว่า แต่ละคนจะมีความสามารถในการเรียนรู้ต่างกัน บางคนจะเรียนรู้ได้ดีจากการพูดคุย หรือจากการอ่าน เป็นต้น วิธีเพิ่มประสิทธิภาพของสมองย่อมแตกต่างไปตามรูปแบบการเรียนรู้ ดังต่อไปนี้1. การสร้างความจำ ทางกายภาพสมองมนุษย์เราสามารถเก็บข้อมูลต่าง ๆ ได้ ภายในเวลา 1 / 1000 วินาที และโดยรู้ตัวหรือไม่ ข้อมูลที่เราได้รับจะอยู่ภายในสมองเราครบถ้วน เพียงแต่เราไม่สามารถดึงข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ได้ สาเหตุหนึ่งมาจากการ " การลืม " ้องคิดอยู่เหนืออารมณ์ารณ์ความคิดตัวเองว่าคิดเป็นระบบหรือไม่ บิดเบือนความจริงหรือไม่ คิดด้วยอารมณ์รึเปล่า ทุกครั้งที่เราได้รับข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ การอ่าน ฟัง หรือคิด เป็นต้น จะเกิดอัตราการลืมโดยเฉลี่ยภายใน 5 นาที จะจำข้อมูลได้ 50% และถ้าผ่านไป 1 วัน จำได้ 10 %จากข้อมูลทั้งหมดที่ได้รับ แต่ข้อมูลทั้งหมดยังอยู่ในสมองของเราคำถาม : ทำอย่างไรเราจึงจะสามารถจำข้อมูลที่เราอยากจำได้ ?1. จดบันทึก (take note) : เป็นการสั่งสมองให้จำข้อมูล2. สร้างภาพ : เพื่อช่วยให้มีความจำดีขึ้น ภาพที่สร้างควร• ขนาดใหญ่กว่าความจริง• ขยับมาก มีสีสัน ความรู้สึกรุนแรง• เกินความจริง เช่น ลิงพูดได้ เป็นต้น2. การอ่าน Information is power ในสังคมปัจจุบันใครที่มีข้อมูลมากก็ย่อมมีความคิดที่ลุ่มลึกกว่า และความคิดก็จะนำมาซึ่งเงินทอง ฐานะ ตำแหน่งและอำนาจ เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากการอ่าน เราควรทราบวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพในการอ่านด้วยวิธีง่าย ๆ อันดับแรกคือ ถามตัวเองก่อนกว่า " เราต้องการประโยชน์อะไรจากการอ่านในครั้งนี้ " เทคนิคในการอ่านเร็ว1. ควรอ่านไม่มีเสียงในใจ2. การอ่านจับใจความสำคัญ : เพื่อหาประเด็นที่ผู้เขียนต้องการสื่อ สามารถทำได้โดย• เริ่มต้นการอ่านด้วยการหา key concept >> ตัดสินใจว่าจำเป็นต้องอ่านรึเปล่า เราต้องการรู้อะไร และจะอ่านส่วนไหนบ้าง >> อ่านเจาะประเด็น ก็ทำให้เราไม่เสียเวลาอ่านทุกหน้า3. ต้องประเมินแหล่งข้อมูล เพราะประโยชน์สูงสุดของการอ่านคือ การนำข้อมูลมาใช้ จึงจำเป็นต้องประเมินความน่าเชื่อถือ และแหล่งที่มาของข้อมูล สามารถวัดได้จาก เช่น เป็นข้อมูลที่ up date หรือไม่, สำนักพิมพ์อะไร เป็นต้น 3. การฟัง ตามทฤษฎีที่ว่าข้อมูลที่เราได้รับทุกอย่างจะถูกบันทึกในสมองของเรา ถ้าเราได้รับข้อมูลที่ถูกต้องในทางบวกเยอะๆ ย่อมทำให้เราเป็นคนมองโลกในแง่บวก พร้อมที่จะแก้ปัญหามากกว่ายอมแพ้ปัญหา ดังนั้น เราควรกลั่นกรองแต่ละข้อมูลที่เราได้รับ ก่อนที่ข้อมูลนั้นจะถูก Memory ในสมองของเรา ซึ่งมีกลวิธีดังนี้1. ประเมินผู้พูด : มีความน่าเชื่อถือ หรือไม่ความน่าเชื่อถือ: น่าเชื่อถือ แต่ไม่ชอบพูดเทคนิค: ตั้งคำถาม หรือพูดยั่วยุแต่สุภาพ เช่น วิพากษ์วิจารณ์ความคิด เพื่อกระตุ้นให้เขาพูด เป็นต้นน่าเชื่อถือ แต่พูดไม่ตรงประเด็น ให้ถามอย่างสุภาพว่า ประเด็นที่กำลังพูดคืออะไร? ช่วยสรุปให้ฟังสัก 2 ประโยคได้มั้ย? ถ้าไม่น่าเชื่อถือให้เราฟังตามมารยาทสังคม2. self-talk : ถามตัวเองตลอดเวลาว่า " ผู้พูดต้องการพูดเพื่ออะไร "3. ฟังด้วยความรู้สึก : ใช่ หรือไม่ใช่4. การคิด คนที่จะประสบความสำเร็จไม่จำเป็นต้องมี IQ สูง แต่ต้องมีความคิดอย่างเป็นระบบ และคิดอย่างสร้างสรรค์ในเรื่องที่มีประโยชน์ โดยมีระบบความคิดทั้งหมด 6 ประเภท ดังต่อไปนี้1. Think objectively คิดอย่างเป็นกลาง--เห็นความจริงตรงตามความจริง2. Think productively คิด ตัดสินใจโดยมองที่ "ผล" เมื่อเจอสถานการณ์หนึ่ง แล้วสามารถคิดพิเคราะห์ถึงผลทั้งด้านบวกและลบที่จะตามมา3. Think positively คิดหาทางแก้ปัญหาเมื่อพบอุปสรรคก็ยังสามารถคิดหาทางพลิกวิกฤตเป็นโอกาส4. Think creatively ความคิดที่สร้างเหตุและปัจจัยอันใหม่ เพื่อสร้างอนาคตของตัวเองความสามารถในการเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ ที่เคยชินกับสิ่งที่ไม่เคยเห็นมาก่อน อาจสร้างได้โดยการถามตัวเองว่า "ทำอย่างไรจึงจะทำงานของเราได้ดีกว่าเดิม?" 5. Think intuitively เป็นความคิดที่ได้มาจากการถามความรู้สึกภายใน 6. Think about the mode คิดเกี่ยวกับความคิดตัวเอง วิพากษ์วิจารณ์ความคิดตัวเองว่าคิดเป็นระบบหรือไม่ บิดเบือนความจริงหรือไม่ คิดด้วยอารมณ์รึเปล่า: นักคิดระดับโลกต้องคิดอยู่เหนืออารมณ์**ความสงบของจิตไม่ได้หมายความว่า เราจะต้องหยุดการทำงานทุกสิ่งเข้าป่า หาที่สงบเพื่อที่จะได้ปฏิบัติ ความสงบที่แท้จริงนี้เราควรหาพบในกิจกรรมการงานต่างๆในชีวิตประจำวันของเรา** อ้างอิง http://larndham.net/index.php?showtopic=30689&st=6&#top

แบบฝึกหัดบทที่ 4

แบบฝึกหัดบทที่ 4 (1) มนุษย์สัมพันธ์มีความหมายว่าอย่างไร มีความสัมพันธ์ต่อองค์การอย่างไร จงอธิบายความสัมพันธ์เป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างกลุ่มบุคคลในองค์การใดองค์การหนึ่งหรือสังคมใดสังคมหนึ่ง เพื่อดำเนินการให้องค์การนั้นหรือสังคมนั้นบรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งจะมี 2 ลักษณะด้วยกันคือ มนุษย์สัมพันธ์อันดี บุคคลในองค์การหรือสังคมมีความรู้สึกพึงพอใจต่อกันและกันมีความเข้าใจอันดีต่อกัน ร่วมมือกันประสานงาน ช่วยเหลือแบ่งปันและให้อภัยต่อกัน แต่ถ้ามนุษย์สัมพันธ์ไม่ดี บุคคลในองค์การนั้นหรือสังคมนั้นก็มักจะไม่ชอบพอกัน ขัดแย้งกัน ไม่ร่วมมือกัน ต่างคนต่างอยู่หรือกลั่นแกล้งกัน ส่งผลให้งานส่วนรวมขององค์การหรือกลุ่มสังคมนั้น ๆ เสียหาย บุคคลในกลุ่มขาดความสุข ซึ่งในท้ายที่สุดก็จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของบุคคลทุกคนในกลุ่มนั้น ๆ ไม่มากก็น้อย(2) กลุ่มงานที่มีความสัมพันธ์อันดี มีลักษณะที่ดีอะไรบ้าง จงอธิบาย"ลักษณะของกลุ่มงาน" ที่กล่างถึงในที่นี้มุ่งเน้นที่พฤติกรรมการกระทำ การปฏิบัติต่อกันและกันของผู้ทำงานร่วมกลุ่ม ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญดังต่อไปนี้2.1 มีการทำงานร่วมกันแบบประชาธิปไตยบุคคลส่วนใหญ่ต้องการมีส่วนร่วมในกลุ่มที่ตนเป็นสมาชิกซึ่งการทำงานร่วมกันแบบประชาธิปไตยจะสนองความต้องการนี้ได้ โดยที่ทุกคนต่างมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นต่องาน รับฟังความคิดเห็นของกันและกัน และเคารพในมติของเสียงส่วนใหญ่ นักจิตวิทยากลุ่มทฤษฎีสนาม พบว่าการทำงานร่วมกันแบบประชาธิปไตย ช่วยให้กลุ่มมีความร่วมมือและงานสำเร็จดีกว่ากลุ่มเผด็จการ จึงกล่าวได้ว่าการทำงานร่วมกันแบบประชาธิปไตยช่วยเสริมสร้างมนุษย์สัมพันธ์ในหน่วยงานได้2.2 มีความไว้วางใจและเชื่อในความสามารถซึ่งกันและกันบุคคลทั่วไปต้องการความเชื่อถือไว้วางใจจากผู้อื่น ดังนั้นในการทำงานร่วมกันทุกคนควรให้ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ให้เกียรติและเชื่อถือในความสามารถของเพื่อนร่วมงาน2.3 มีการติดต่อสื่อสารที่ดีในหน่วยงานมนุษย์ทุกคนต้องการความชัดเจนในงานและต้องการความสบายใจในการอยู่ร่วมกันด้วย ซึ่งการติดต่อสื่อสารที่ดีนอกจากช่วยสร้างความเข้าใจในการร่วมงานกันแล้วยังช่วยเสริมความสัมพันธ์ส่วนตัวกันด้วย2.4 มีการช่วยเหลือกันในขอบเขตที่เหมาะสมในการทำงานและอยู่ร่วมกันในกลุ่ม ถ้าทุกคนพร้อมต่อการเป็นผู้ให้ย่อมทำให้เกิดความสุขในกลุ่มได้ การช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน จัดว่าเป็นการให้อีกรูปแบบหนึ่งซึ่งก่อให้เกิดความรู้สึกเป็นมิตร ซาบซึ้งใจ พึงพอใจและเกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน แต่ทั้งนี้ต้องเป็นการให้ในขอบเขตที่เหมาะสม2.5 มีการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบการทำงานร่วมกันโดยหลายคนนั้น ถ้ามีทีมงานที่เหมาะสม คือ มีระบบงานที่ดี มีสายงานบังคับบัญชาที่ชัดเจน ทุกคนรู้จักบทบาทหน้าที่ และมีขอบข่ายงานที่กำหนดเด่นชัด การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีขั้นตอน และมีการร่วมมือประสานงานกันเป็นอย่างดี มักส่งผลให้งานสำเร็จและมีความสัมพันธ์อันดีต่อกันด้วย2.6 มีการร่วมมือที่ดีการทำงานร่วมกันนั้น ถ้าทำให้ทุกคนร่วมมือกันทำเพื่อให้กลุ่มทำงานสำเร็จได้ ก็จัดว่ากลุ่มดังกล่าวมีความสามัคคีและมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน วิธีนี้จะเป็นที่ยอมรับของนักจิตวิทยามากกว่าการแข่งขัน เนื่องจากในกระบวนการของการแข่งขันนั้น เมื่อฝ่ายหนึ่งได้อีกฝ่ายหนึ่งจะเสีย แม้บางครั้งการแข่งขันอาจทำให้ผลงานของกลุ่มดีขึ้นแต่ในแง่ของความสัมพันธ์ภาพมักเสียไป2.7 ผู้มาร่วมกลุ่มทำงานมีลักษณะที่เอื้อต่อการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีในการทำงานร่วมกัน ถ้าผู้มาร่วมกลุ่มทำงานมีลักษณะบางประการ ที่เอื้อต่อการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี คือมีลักษณะส่วนตัวที่พร้อมอยู่แล้วก็ย่อมส่งผลให้การทำงานกลุ่มเป็นไปด้วยไมตรีอันดี(3) แนวทางในการพัฒนาตนเพื่อเสริมสร้างสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนร่วมงาน ควรปฏิบัติอย่างไรบ้าง จงอธิบายการพัฒนาตนเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนร่วมงาน อาจทำได้หลายลักษณะดังนี้3.1 การสร้างอัตตมโนทัศน์ ที่ตรงตามความเป็นจริงเป็นความคิดความรู้สึกที่เป็นข้อสรุปต่อตนเองของบุคคล ความคิดความรู้สึกดังกล่าวเป็นผลิตผลจากประสบการณ์ในชีวิตที่ได้มีการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง อัตตมโนทัศน์เป็นภาพทั้งหมดของบุคคลในความคิดคำนึง ซึ่งมิได้เจาะจงที่จุดใดจุดหนึ่งโดยเฉพาะหากแต่เป็นความคิดความรู้สึกเกี่ยวกับตนเองในภาพรวมทั้งหมด3.2 การมองตนเองและผู้อื่นในทางที่ดีนักจิตวิทยาส่วนใหญ่มีความเห็นว่า เรื่องของมนุษย์สัมพันธ์นั้น ควรเริ่มที่ตัวเองเป็นจุดแรก ทั้งนี้เพราะข้อเท็จจริงที่ว่าการที่บุคคลรู้สึกต่อผู้อื่นเช่นไรส่วนใหญ่มักขึ้นอยู่กับความรู้สึกของตนเอง ถ้ามีความรู้สึกที่ดีเกี่ยวกับตนเองและมองตนเองในทางที่ดีก็มีแนวโน้มที่จะรู้สึกต่อผู้อื่นในทางที่ดีและมองผู้อื่นดีด้วยแนวปฏิบัติที่สำคัญเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อผู้อื่น เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงานด้วยกันมีดังนี้1) ให้ความสนใจเพื่อนร่วมงาน2) ยิ้มแย้ม3) แสดงการจำได้4) เป็นคู่สนทนาที่ดี5) รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น6) แสดงการยอมรับนับถือผู้อื่นตามสถานภาพ7) แสดงความมีน้ำใจต่อผู้อื่น8) แสดงความชื่นชมยินดี(4) การวางแผนตนตามสถานะและบทบาทในองค์การ แบ่งออกเป็นกี่ระดับอะไรบ้าง จงอธิบายการวางแผนตามสถานะและบทบาทในองค์การ แบ่งออกเป็น 3 ระดับดังนี้4.1 การวางตนในการทำงานร่วมกับผู้บังคับบัญชาโดยผู้บังคับบัญชา ไม่ว่าจะอยู่ในระดับใดต้องถือว่าเป็นผู้นำในการปฏิบัติงานและเป็นผู้ต้องรับผิดชอบงาน ดังนั้น ผู้ใต้บังคับบัญชาจึงต้องให้ความสำคัญกับผู้บังคับบัญชา ให้ความเคารพนับถือ ให้ความร่วมมือ และเชื่อฟังในสิ่งที่ชอบด้วยเหตุผลและบทบาทหน้าที่โดยปฏิบัติดังนี้1)ยกย่องผู้บังคับบัญชาตามควรแก่ฐานะ2)รับคำวิพากษ์วิจารณ์จากผู้บังคับบัญชา ด้วยความสงบหลีกเลี่ยงการแสดงอารมณ์หรือการโต้เถียง3)ปฏิบัติงานด้วยความตั้งใจและเต็มความสามารถเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาเชื่อถือ4)ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และคำสั่งขององค์กร5)เสนอข้อคิดเห็นโดยสุภาพอ่อนน้อม เมื่อผู้บังคับบัญชาถามความเห็น6)หลีกเลี่ยงการรบกวนผู้บังคับบัญชาด้วยเรื่องเล็กน้อย7)หลีกเลี่ยงการบ่นเรื่องงานที่ยากลำบากให้ผู้บังคับบัญชาฟัง8)หลีกเลี่ยงการนินทาผู้บังคับบัญชาลังหลัง ถ้ามีปัญหาเรื่องงานเกิดขึ้น ควรหาโอกาสพูดกับผู้บังคับบัญชาโดยตรง9)หลีกเลี่ยงการตอบรับหรือปฏิเสธตลอดเวลา การที่จะตอบรับหรือปฏิเสธความเห็นของผู้บังคับบัญชา ควรให้เป็นไปตามเหตุผล10)หลีกเลี่ยงการทำตัวแข่งกับผู้บังคับบัญชา4.2 การวางตนในการทำงานร่วมกับผู้อยู่ในระดับเดียวกันผู้ที่ปฏิบัติงานในระดับเดียวกันมักมีอิทธิพลต่อกันและกันในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและมีบทบาทสูงต่อมนุษยสัมพันธ์ในองค์การ เนื่องจากอยู่ใกล้ชิดกันมากที่สุดต้องอาศัยความร่วมมือและน้ำใจช่วยเหลือกัน ดังนั้น การวางตนในการทำงานร่วมกับผู้อยู่ในระดับเดียวกันนั้น จึงต้องวางตนโดยเป็นผู้ให้มากที่สุดและปฏิบัติดีต่อกันให้มากที่สุด ซึ่งได้กล่าวโดยสังเขปดังนี้1)มองเพื่อนร่วมงานในแง่ดี ให้ความจริงใจให้ความช่วยเหลือ2)หลีกเลี่ยงการผลักภาระรับผิดชอบของตนไปให้เพื่อนร่วมงาน3)เมื่อมีปัญหาต้องพูดคุยกัน4)หาโอกาสพบปะสังสรรค์กับเพื่อนร่วมงานตามสมควร5)ให้การยกย่องชมเชยตามโอกาสอันควร6)หลีกเลี่ยงการแสดงอารมณ์เมื่อมีการขัดแย้งเกิดขึ้น7)หลีกเลี่ยงการทำตนเหนือเพื่อนร่วมงานหรือใช้วาจาข่มขู่8)หลีกเลี่ยงการขอร้องให้ช่วยเหลือในบางเรื่องที่เล็กน้อยและเราทำเองได้9)หลีกเลี่ยงการนินทาว่าร้ายหรือวิพากษ์วิจารณ์เพื่อนร่วมงานลับหลัง10)ให้อภัย ให้โอกาส เมื่อเพื่อนร่วมงานปฏิบัติผิดพลาด4.3 การวางตนในการทำงานร่วมกับผู้ใต้บังคับบัญชาการวางตนในการทำงานร่วมกับผู้ใต้บังคับบัญชาต้องคำนึงอยู่เสมอว่า ผู้ใต้บังคับบัญชาคือฝ่ายปฏิบัติงานในหน่วยงาน เปรียบเสมือนมือและเท้าของผู้บริหาร ถ้าผู้ปฏิบัติขาดความสุขในการทำงานก็มักส่งผลเสียต่องาน นอกจานนั้น ผลงานของลูกน้องทุกคนทั้งหมดเมื่อรวมกันแล้วก็คือผลงานของผู้บังคับบัญชา ผู้บังคับบัญชาจึงควรต้องให้ความสำคัญกับผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อให้ผลงานดีและมีบรรยากาศของความสัมพันธ์อันดีต่อกันด้วย ดังนั้นในที่นี้จึงกล่าวโดยสังเขปดังนี้1)เปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเจริญก้าวหน้าโดยอาชีพ โดยอาจส่งไปอบรม สัมมนา ค้นคว้าวิจัย2)สนับสนุนให้ผู้ใต้บังคับบัญชาแต่ละคนได้ทำงานที่เหมาะสมแก่ตนเองทั้งด้านความสามารถและบุคคิกภาพ3)สื่อสารกับผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างชัดเจน เมื่อต้องการให้ทำงานใดและหลีกเลี่ยวการสื่อสารทางเดียวให้มากที่สุด4)รักษาผลประโยชน์ของผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อให้ทุกคนอยู่ได้อย่างไม่ลำบากและเป็นสุข5)ยกย่องผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปรากฏแก่ผู้อื่นเมื่อเขาทำดี แต่เมื่อมีสิ่งผิดพลาดเกิดขึ้นควรเชิญเข้าพบเพื่อพูดคุยกันเป็นการส่วนตัวในบรรยากาศของความจริงใจ6)เปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในงานให้มาก โดยการประชุมปรึกษาเสนอความคิดเห็นและกระจายงานให้ผู้บังคับบัญชาแบ่งกันรับผิดชอบ7)ให้ความยุติธรรมแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาและปฏิบัติต่อผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยความเป็นธรรม8)หลีกเลี่ยงการยกตนเองว่าสูงกว่าผู้ใต้บังคับบัญชา9)หลีกเลี่ยงการจับผิดผู้ใต้บังคับบัญชา10)หลีกเลี่ยงการแสดงความอยากได้หรือการเบียดเบียนผู้ใต้บังคับบัญชา

มารยาทที่ดี

มารยาทที่ดี หลากมารยาทดีๆในที่ทำงาน การรู้จักกาลเทศะ มีมารยาทและวางตัวดีในที่ทำงานจะช่วยให้การงานราบรื่น ช่วยผ่อนความเครียด ที่อาจเกิดจากคนรอบข้างได้ มันไม่ง่ายเลยใช่มั้ยคะกับการทำงานกับคนมากมายทุกๆ วันโดยที่คน เหล่านั้นไม่ใช่เพื่อนหรือคนที่รู้จักคบหากันมาก่อน ดังนั้นการเรียนรู้มารยาท และการวางตัวใน ที่ทำงานก็จะช่วยให้การงานราบรื่นขึ้นลองนำเคล็ดลับจาก Lisa ไปใช้ดูซีคะ ควรทำตัวอย่างไรในการแนะนำตัว คุณควรรอให้อนุญาติให้นั่งเสียก่อนแล้วจึงนั่งลง หากได้รับคำถามว่าดื่มชา กาแฟมั้ย ก็ควรตอบรับเพื่อช่วยให้บรรยากาศดีขึ้น ที่สำคัญคืออย่าไปสาย ควรตรงต่อเวลาและให้เวลา กับการแนะนำตัวเองอย่างไม่จำกัดเวลาแม้ว่าคุณอาจพลาดกับรถเที่ยวต่อไปก็ตาม เพราะหาก คุณบอกว่า "ดิฉันต้องไปแล้วค่ะ" นั่นอาจหมายถึงว่าคุณต้องลาจากชั่วนิรันดร์ พนักงานใหม่ควรวางตัวอย่างไร หากคุณไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดีกับผู้ร่วมงานในที่ทำงานใหม่ก็อย่าเพิ่งกังวล คุณไม่จำเป็น ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองทันที แรกๆ คุณควรศึกษากฎระเบียบเสียก่อนและสังเกตุ ขนบธรรมเนียม และมารยาทในที่ทำงานใหม่เพราะคุณอาจทำงานได้ดีมากแต่อาจทำผิดสังคมในที่ทำงานได้ ดังนั้น คุณจึงไม่ควรเลี้ยงฉลองอะไรในวันแรก แต่ให้ผ่านช่วงทดลองงานไปก่อน ทำอย่างไรดีกับเพื่อนร่วมงาน คุณจัดการกับโต๊ะทำงานของตัวเองได้ แต่ไม่ควรยุ่งกับโต๊ะทำงานของคนอื่น และไม่ควร เอาของใช้ เช่น กระเป๋าหรือสิ่งของไปวางในพื้นที่ทำงานแม้ว่าคุณอยากจะโชว์ ให้เพื่อนร่วมงาน เห็นก็ตาม นอกจากนี้ความเครียดจะเกิดขึ้นถ้าคุณเอาตัวไปเบียดใกล้ชิดกับเพื่อน ร่วมงานเพราะ มนุษย์ส่วนมากมักมีความรู้สึกปลอดภัยเมื่ออยู่ห่างกันหนึ่งช่วงแขน กฎในออฟฟิศ อีกอย่างก็คือ เมื่อคุณจะไอหรือจามก็ควรออกนอกห้อง หลีกหนีเพื่อนร่วมงานจอมเมาท์อย่างไรดี ขณะที่คุณกำลังคุยโทรศัพท์อยู่แล้วเพื่อนร่วมงานคนหนึ่งเข้ามาป้วนเปี้ยนในห้องคุณและคอยจับผิด ให้คุณถามว่า มีอะไรให้ช่วยมั้ยคะ หรือบอกว่า เดี๋ยวคุณจะตามไป หรือบอกไปว่าคุณกำลังสะสาง งานอย่างเร่งด่วนอยู่ หากคุณเห็นว่าไม่เหมาะที่จะทำตัวสนิทสนมด้วยก็ให้รักษาระยะห่างไว้ จำเป็นต้องไปสรวลเสเฮฮาหลังเลิกงานด้วยมั้ย หากเพื่อนร่วมงานชวนคุณไปดื่มหรือเข้าร้านอาหารหลังเลิกงาน แต่คุณไปไม่ได้ ก็ควรกล่าวคำขอโทษ เช่น "ขอบคุณที่ชวนนะคะ แต่บังเอิญติดธุระ" และหากคุณไปด้วยก็ควร อยู่ด้วยอย่างน้อยที่สุด 15 นาที ทำอย่างไรดีเมื่อถูกจับได้ว่านินทาคนอื่น คุณกำลังนินทาเรื่องไม่ดีของผู้ร่วมงานคนหนึ่งอยู่โดยที่เธอยืนอยู่ข้างหลังคุณ ดังนั้น คุณจึงควรกล่าวคำขอโทษและบอกว่าคุณไม่ได้หมายถึงอย่างที่พูดไปเมื่อสักครู่นี้ และแสดงให้เห็น ถึงความจริงใจของคุณด้วยการช่วยเหลือเธอ เปิดเผยและซื่อสัตย์ เจอเพื่อนร่วมงานกลางทาง ให้คุณเดินไปหาและทักทาย หากคุณไม่แน่ใจว่าเพื่อนร่วมงานอยากจะทักคุณหรือไม่ ก็ให้คุณพยายามสบตาด้วย หากเธอมองไปทางอื่นก็แสดงว่าเธอไม่อยากทักทายคุณ แต่ถ้าคุณอยู่ใกล้ ประตูรถไฟฟ้าหรือรถเมล์ก็ให้หยุดรอตอนขาลงและทักทายเธอ คุณก็จะได้เพื่อนร่วมทางหรือหาก คุณไม่อยากยุ่งเกี่ยวด้วยก็ต้องขึ้นรถเช้ากว่านี้เพื่อไม่ต้องเจอกัน ในลิฟต์บางคนกลัวการอยู่ในที่แคบ เช่น ในลิฟต์ หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กลัวการอยู่ในที่แคบและเจอ ผู้ร่วมงานในลิฟต์ก็ควรทักทาย แล้วจะหัน หน้าไปทางประตูลิฟต์ก็ไม่มีใครว่าและควรถามคนอื่นด้วยว่าอยู่ชั้นไหน แล้วกดลิฟต์ ให้ด้วย ไม่ควรนำโทรศัพท์มือถือเข้าที่ประชุม เพราะมันมักรบกวนห้องประชุม หากคุณจำเป็นต้องรอโทรศัพท์สำคัญก็ให้บอกกับทาง โน้นว่าในช่วงเวลานี้ คุณติดประชุมไม่อาจรับโทรศัพท์ ได้หรือระหว่างพักการประชุม ก็โทรศัพท์ ไปหาได้ หากคุณตั้งสัญญาณสั่นสะเทือนไว้ก็ให้ออกไปพูดนอกห้องประชุม การโต้ตอบอีเมล ควรตรวจเช็กและตอบอีเมลวันละอย่างน้อยที่สุด 2 รอบ ตอนเช้า กลางวันและที่ดี ที่สุดคือตอนเย็น หากคุณไม่สามารถตอบได้ทันที ก็ให้ส่งข้อความสั้นๆ ว่าคุณไม่อยู่ 2-3 วัน และบอกด้วยว่าคุณจะอยู่ในออฟฟิศอีกครั้งเมื่อไหร่ นอกจากนี้ก็ควรเขียนอีเมลอย่างระมัดระว้ง ถูกต้องและไม่มีข้อผิดพลาด และบันทึกไว้อย่างมีระเบียบเพื่อที่คุณจะได้หาได้ง่ายเมื่อต้องการค้นหา ไม่ควรใช้คำย่อ มีคำขึ้นต้นและลงท้ายอย่างมีมารยาท ข้อมูลจาก lisa 24 มีนาคม 2551 เขียนโดย vegetablenet ที่ 12:01 ก่อนเที่ยง การรู้จักกาลเทศะ มีมารยาทและวางตัวดีในที่ทำงานจะช่วยให้การงานราบรื่น ช่วยผ่อนความเครียดที่อาจเกิดจากคนรอบข้างได้ มันไม่ง่ายเลยใช่มั้ยคะกับการทำงานกับคนมากมายทุกๆ วันโดยที่คนเหล่านั้นไม่ใช่เพื่อนหรือคนที่รู้จักคบหากันมาก่อน ดังนั้นการเรียนรู้มารยาท และการวางตัวในที่ทำงาน ก็จะช่วยให้การงานราบรื่นขึ้น ลองนำเคล็ดลับจาก Lisa ไปใช้ดูซีคะ ควรทำตัวอย่างไรในการแนะนำตัว คุณควรรอให้อนุญาติให้นั่งเสียก่อนแล้วจึงนั่งลง หากได้รับคำถามว่าดื่มชา กาแฟมั้ยก็ควรตอบรับเพื่อช่วยให้บรรยากาศดีขึ้น ที่สำคัญคืออย่าไปสาย ควรตรงต่อเวลาและให้เวลากับการแนะนำตัวเองอย่างไม่จำกัดเวลาแม้ว่าคุณอาจพลาดกับรถเที่ยวต่อไปก็ตาม เพราะหากคุณบอกว่า "ดิฉันต้องไปแล้วค่ะ" นั่นอาจหมายถึงว่าคุณต้องลาจากชั่วนิรันดร์ พนักงานใหม่ควรวางตัวอย่างไร หากคุณไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดีกับผู้ร่วมงานในที่ทำงานใหม่ก็อย่าเพ่งกังวล คุณไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองทันที แรกๆ คุณควรศึกษากฎระเบียบเสียก่อนและสังเกตขนบธรรมเนียมและมารยาทในที่ทำงานใหม่เพราะคุณอาจทำงานได้ดีมากแต่อาจทำผิดสังคมในที่ทำงานได้ ดังนั้นคุณจึงไม่ควรเลี้ยงฉลองอะไรในวันแรก แต่ให้ผ่านช่วงทดลองงานไปก่อน ทำอย่างไรดีกับเพื่อนร่วมงาน คุณจัดการกับโต๊ะทำงานของตัวเองได้ แต่ไม่ควรยุ่งกับโต๊ะทำงานของคนอื่น และไม่ควรเอาของใช้ เช่น กระเป๋าหรือสิ่งของไปวางในพื้นที่ทำงานแม้ว่าคุณอยากจะโชว์ให้เพื่อนร่วมงานเห็นก็ตาม นอกจากนี้ความเครียดจะเกิดขึ้นถ้าคุณเอาตัวไปเบียดใกล้ชิดกับเพื่อนร่วมงานเพราะมนุษย์ส่วนมากมักมีความรู้สึกปลอดภัยเมื่ออยู่ห่างกันหนึ่งช่วงแขน กฎในออฟฟิศอีกอย่างก็คือ เมื่อคุณจะไอหรือจามก็ควรออกนอกห้อง หลีกหนีเพื่อนร่วมงานจอมเมาท์อย่างไรดี ขณะที่คุณกำลังคุยโทรศัพท์อยู่แล้วเพื่อนร่วมงานคนหนึ่งเข้ามาป้วนเป้ยนในห้องคุณและคอยจับผิด ให้คุณถามว่า มีอะไรให้ช่วยมั้ยคะ หรือบอกว่า เดี๋ยวคุณจะตามไป หรือบอกไปว่าคุณกำลังสะสางงานอย่างเร่งด่วนอยู่ หากคุณเห็นว่าไม่เหมาะที่จะทำตัวสนิทสนมด้วยก็ให้รักษาระยะห่างไว้ จำเป็นต้องไปสรวลเสเฮฮาหลังเลิกงานด้วยมั้ย หากเพื่อนร่วมงานชวนคุณไปดื่มหรือเข้าร้านอาหารหลังเลิกงาน แต่คุณไปไม่ได้ก็ควรกล่าวคำขอโทษ เช่น "ขอบคุณที่ชวนนะคะ แต่บังเอิญติดธุระ" และหากคุณไปด้วยก็ควรอยู่ด้วยอย่างน้อยที่สุด 15 นาที ทำอย่างไรดีเมื่อถูกจับได้ว่านินทาคนอื่น คุณกำลังนินทาเรื่องไม่ดีของผู้ร่วมงานคนหนึ่งอยู่โดยที่เธอยืนอยู่ข้างหลังคุณ ดังนั้นคุณจึงควรกล่าวคำขอโทษและบอกว่า คุณไม่ได้หมายถึงอย่างที่พูดไปเมื่อสักครู่นี้ และแสดงให้เห็นถึงความจริงใจของคุณด้วยการช่วยเหลือเธอ เปิดเผยและซื่อสัตย์ เจอเพื่อนร่วมงานกลางทาง ให้คุณเดินไปหาและทักทาย หากคุณไม่แน่ใจว่าเพื่อนร่วมงานอยากจะทักคุณหรือไม่ ก็ให้คุณพยายามสบตาด้วย หากเธอมองไปทางอื่นก็แสดงว่าเธอไม่อยากทักทายคุณ แต่ถ้าคุณอยู่ใกล้ประตูรถไฟฟ้าหรือรถเมล์ก็ให้หยุดรอตอนขาลงและทักทายเธอ คุณก็จะได้เพื่อนร่วมทาง หรือหากคุณไม่อยากยุ่งเกี่ยวด้วยก็ต้องขึ้นรถเช้ากว่านี้เพื่อไม่ต้องเจอกัน ในลิฟต์ บางคนกลัวการอยู่ในที่แคบ เช่น ในลิฟต์ หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กลัวการอยู่ในที่แคบและเจอผู้ร่วมงานในลิฟต์ก็ควรทักทายแล้วจะหันหน้าไปทางประตูลิฟต์ก็ไม่มีใครว่าและควรถามคนอื่นด้วยว่าอยู่ชั้นไหนแล้วกดลิฟต์ให้ด้วย ไม่ควรนำโทรศัพท์มือถือเข้าที่ประชุม เพราะมันมักรบกวนห้องประชุม หากคุณจำเป็นต้องรอโทรศัพท์สำคัญก็ให้บอกกับทางโน้นว่าในช่วงเวลานี้ คุณติดประชุมไม่อาจรับโทรศัพท์ได้ หรือระหว่างพักการประชุมก็โทรศัพท์ไปหาได้ หากคุณตั้งสัญญาณสั่นสะเทือนไว้ ก็ให้ออกไปพูดนอกห้องประชุม การโต้ตอบอีเมล ควรตรวจเช็กและตอบอีเมลวันละอย่างน้อยที่สุด 2 รอบ ตอนเช้า กลางวันและที่ดีที่สุดคือตอนเย็น หากคุณไม่สามารถตอบได้ทันที ก็ให้ส่งข้อความสั้นๆ ว่าคุณไม่อยู่ 2-3 วัน และบอกด้วยว่าคุณจะอยู่ในออฟฟิศอีกครั้งเมื่อไหร่ นอกจากนี้ก็ควรเขียนอีเมลอย่างระมัดระว้ง ถูกต้องและไม่มีข้อผิดพลาด และบันทึกไว้อย่างมีระเบียบเพื่อที่คุณจะได้หาได้ง่ายเมื่อต้องการค้นหา ไม่ควรใช้คำย่อ มีคำขึ้นต้นและลงท้ายอย่างมีมารยาท